วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

คำถาม

(เลือก....กดคำตอบได้เลย)

1.วัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตเครื่องถมคือ




2 ทองคำที่ใช้สำหรับ”เปียกทอง”ในงานเครื่องถมคือทองชนิดใด




3 เครื่องถมมีทั้งหมดกี่ประเภท



ง 2 ประเภท

4 งานเครื่องถมในประเทศเริ่มมีการทำกันในสมัยใด



5.เนื้อเงินใช้ความร้อนในการหลอมละลายกี่องศาเซลเซียล





6 ในเนื้อยาถมมีโลหะชนิดใดผสมอยู่



........................................

เนื้อหาต่อไป

ประวัติ น.ส. หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

๑๓.เครื่องถม

ภาพเครื่องถม


ภาพเครื่องถม 2 แบบ
1.เครื่องใช้สอย














2.เครื่องประดับ





















เนื้อหาต่อไป
ประวัติน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

หนังสือ

1.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติพระบรมราชินีนาถ.
2.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 6
3.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 21เครื่องถมและเครื่องเงินไทย



เนื้อหาต่อไป
ประวัติ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.เครื่องถม

ประเภทของเครื่องถมไทย

เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เ
ครื่องถมมีอยู่ 3 แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง


ถมเงินหรือถมดำ


.....................เป็นถมที่เก่าแก่ที่สุดตามความนิยม ถมที่ดีต้องมีสีดำสนิทไม่มี "ตามด" (ตามดคือจุดขาวบนสีดำ) ถมเป็นกรรมวิธี ในการผสมของโลหะสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ เงิน ตะกั่ว และทองแดง นำมาป่นจนเป็นผงละเอียดเพื่อโรยลงบนพื้นแผ่นเงินที่ขูดร่อง หรือตอกเป็น ลวดลายไว้แล้ว การที่จะให้ผงถมเกาะแน่นอยู่ที่การเหยียบพื้น (คือการแกะหรือตอกร่องลงบนเนื้อเงินที่เป็นพื้นของลายที่ตอก) ถ้าเหยียบพื้น ให้มีรอยขรุขระมากเท่าใด ผงถมก็เกาะได้มากเท่านั้น
ถมทอง
............ก็คือถมดำนั่นเอง แต่แตกต่างที่ลวดลาย คือลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดย ใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กันเขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน
ถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึง วิธีการระบายทองคำละลายปรอทหรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบายจนเต็มเนื้อที่อย่าง เดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอทที่มีทองคำละลายปนอยู่ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้ เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอทจะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหนีทองก็จะติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้มทองนั้น การแต้มทองหรือ ระบายทองในที่บางแห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการแสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถมตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือ ถมทอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมในถมตะทองมากกว่าถมทอง

ถมปัด
มีเครื่องใช้สอยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ถมปัด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 ให้คำนิยามไว้ว่า "ภาชนะทองแดงที่ เคลือบน้ำยาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่างๆ" ส่วนคำว่า "ปัด" ที่เป็นนาม ให้คำนิยามว่า "เม็ดแก้วมีรูกลางสำหรับร้อย เป็นเครื่องประดับต่างๆ ที่เรียกว่า "ลูกปัด" ดังนั้นแม้จะมีคำว่าถม อยู่ด้วย ถมปัดก็ไม่ใช่เครื่องถมดังที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้นนี้ เพราะ เหตุว่ารูปพรรณถมปัดเป็นโลหะทองแดง และน้ำยาเคลือบประสมด้วยแก้ว ถมปัดนี้ยังไม่ทราบว่าเคยมี ณ ที่ใด ในประเทศไทย เครื่องลงยาของไทยใช้น้ำ ยาผสมด้วยแก้ว แต่โลหะก็เป็นเงินหรือทองคำ และหาได้เรียกกันว่า ถมปัด ไม่ ในประเทศญี่ปุ่นมีเครื่องใช้สอยชนิดหนึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่น ชิป โป (Shippo) ทำด้วยทองแดงหรือโลหะอื่นเคลือบน้ำยาประสมด้วยแก้ว ทางยุโรปก็มีเรียกว่าคลัวซอนเน (Cloisonne) ทั้งนี้ก็ตรงกันกับถมปัด เข้าใจ ว่าโลหะลงยาชนิดนี้



.................................................

เนื้อหาต่อไป

ประวัติน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

๑๓.เครื่องถม

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

.............สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรทั่วทุกภาคของประเทศมา 40 กว่าปีแล้วได้ทรง พบว่าราษฎรไทยหลายท้องถิ่นมีฝีมือเป็นเลิศทางหัตถกรรมหลายชนิดสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ สมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป พระองค์จึงทรง ทุ่มเทพระวิริยะอุตสาหะ และพระราชทรัพย์มาส่งเสริมงานหัตถกรรมแก่ราษฎรวัตถุประสงค์สำคัญก็คือเพื่อหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่กสิกรที่ประสบ ปัญหาในการเพาะปลูก หรือกสิกรที่ว่างจากฤดูเพาะปลูกให้ได้มีงานทำอยู่กับบ้าน วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งก็คือเพื่อธำรงรักษาและฟื้นฟูหัตถกรรม แบบไทยโบราณ ซึ่งกำลังจะเสื่อมสูญไปตามกาลเวลาให้กลับมาแพร่หลาย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสอนหัตถกรรมแทบทุกประเภท แก่บุตรหลานของราษฎรที่ไร้ที่ทำกินขึ้น ณ บริเวณสวนจิตรลดา และเปิดสอนสมาชิกต่างจังหวัดในบริเวณพระตำหนักทุกภาค เวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อทรงเยี่ยม ราษฎร ทรงรับเด็กยากจนและการศึกษาน้อย ผู้ยังไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการช่างใดๆ เข้ามาเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ทรงเสาะหาครูผู้มีฝีมือที่ยัง หลงเหลืออยู่ มาถ่ายทอดผลงานอันประณีตละเอียดอ่อนเหล่านี้ทรงติดตามผลงานทุกชิ้น และพระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกทุกคน โปรดที่จะทรงใช้สอยผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพทุกชนิดเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั่วไป
การที่พระองค์ท่านทรงริเริ่มพระราชกรณียกิจด้านนี้มากว่าสิบปี ก็ทรงเห็นสมควรที่จะจัดตั้งอาคารศิลปาชีพขึ้น ณ สวนจิตรลดา เพื่อเป็นศูนย์ กลางของการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ และเพื่อเป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากราษฎรทั่วประเทศจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร ศิลปาชีพขึ้นที่ข้างตึกที่ทำการกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ งานของศิลปาชีพเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพได้แพร่หลายกว้างขวาง เป็นที่นิยมในหมู่ราษฎรไทยและชาวต่างประเทศ จากเดิมที่พระองค์ทรงใช้จ่ายเพื่อศิลปาชีพจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ได้มีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงจัดตั้งขึ้นเป็นมูลนิธิได้สำเร็จ เมื่อ วันที่ 21กรกฎาคม พ.ศ.2519 และทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิด้วย ต่อมารัฐบาลได้ประจักษ์ถึงผลงานและคุณประโยชน์ของมูลนิธิ จึงได้รับเป็นหน่วยงาน หนึ่งของรัฐ โดยจัดตั้งเป็นกองศิลปาชีพขึ้น ในสำนักราชเลขาธิการ เมื่อ พ.ศ.2528 เพื่อสนับสนุนงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มูลนิธิใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit" หรือเรียกย่อๆ ว่า "The SUPPORT Foundation"

เนื้อหาต่อไป

ประวัติ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.เครื่องถม

เครื่องถมไทยในปัจจุบัน

.............อุตสาหกรรมเครื่องถมในกรุงเทพฯ นั้น แม้จะมีการส่งเสริมโดยให้มีการสอนที่โรงเรียนเพาะช่างอยู่ระยะหนึ่ง ก็ไม่ปรากฏว่าได้เป็นอุตสาหกรรม อันแพร่หลายไปในท้องตลาดมากนัก ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะเครื่องถมเป็นของที่มีค่าและมีราคาสูง จึงใช้กันอยู่แต่ภายในราชสำนัก และในวงผู้มีฐานะดี เท่านั้น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ.2435 มีผู้ทำเครื่องถมอยู่ 3-4 ราย โดยใช้ช่างถมผู้มีฝีมือที่ไปจากนครศรีธรรมราชแหล่ง ช่างถมที่มีฝีมืออีกแห่งหนึ่งก็ได้แก่โรงเรียนเพาะช่าง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่าง ทำสิ่งของอันเป็น เครื่องถมสำหรับพระราชทานแก่พระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญในต่างประเทศ

ส่วนการค้าเครื่องถมกับต่างประเทศในสมัยนั้น กล่าวได้ว่าไม่มีเลย ทั้งนี้เพราะการคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศยังไม่กว้างขวาง ภายหลังที่ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ.2475 แล้ว ในกรุงเทพฯ ได้มีผู้ที่เป็นนักธุรกิจและผู้ที่เป็นช่างถมที่มีฝีมือ ล้วนแต่เป็นชาวนครศรีธรรมราช รวมกัน 5-6 คนเข้าทำกิจการ อุตสาหกรรมเครื่องถมใช้ชื่อว่า "ไทยนคร" กิจการได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ โรงงานของไทยนครมีช่างฝีมือปฏิบัติการในการทำเครื่องเงินเครื่องถมไทย นี้ปริมาณ 100 คน ในปัจจุบัน
.............................................
เนื้อหาต่อไป

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

ถมจุฑาธุช



.................คำว่า "ถมจุฑาธุช" เป็นชื่อเครื่องถมที่สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดพัฒนาให้ มีกระบวนการที่เร็วขึ้นและทรงประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยนำวิธีการเขียนลวดลาย และวิธีการ ถ่ายภาพมาประยุกต์ใช้ในการทำเครื่องถม แทนวิธีการสลักลวดลายแบบโบราณซึ่งทำได้ช้าเพราะต้องผ่านหลายขั้นตอนนอกจากนั้นเมื่อนำขั้นตอนของการสลักลวดลายแบบโบราณมาใช้ ก็ไม่สามารถพลิกแพลง ทำรูปทรงที่ยากๆ ได้ เพราะจะทำให้เสียรูปทรงและจะประกอบให้เหมือนเดิมได้ยากทั้งเสียเวลามากด้วย
กรรมวิธีในการผลิตเครื่องถมจุฑาธุชมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. วิธีการทำเครื่องถมโดยการเขียนลวดลายแล้วกัดกรด
2.วิธีการทำเครื่องถมโดยการถ่ายแบบลวดลายที่กัดกรดแล้ว
การถ่ายแบบลวดลายลงในแผ่นกระจกโดยอาศัยน้ำยาโคโลเลียน (ใช้ในยุคที่การถ่ายภาพยังไม่เจริญ)
การถ่ายแบบลวดลายลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว ที่พระองค์ท่านได้ทรงคิดค้นขึ้นมานี้ ทำให้ การทำเครื่องถมไทยสามารถพัฒนางานได้รวดเร็ว และตัดขั้นตอนในการทำเครื่องถมไปถึง 4 ขั้นตอน (จากการทำเครื่องถมแบบโบราณ) การที่พระองค์ ท่านทรงนำเอาวิธีการดังกล่าวมาเผยแพร่นี้ นอกจากได้ประโยชน์ในเชิงวิชาการแล้ว ยังส่งผลให้เครื่องถมนั้นมีแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้มากขึ้นและ เจริญก้าวหน้าสืบทอดมาเป็นมรดกของชาติจนถึงปัจจุบันอีกด้วย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกว่าถ้าเป็นถมลักษณะ อย่างนี้ต้องเป็นถมจุฑาธุช ซึ่งเรียกตามพระนามของท่านผู้คิดค้นนั่นเอง

ลักษณะของถมจุฑาธุชมีข้อสังเกตได้ดังนี้
1. ด้านหลังของลวดลายจะเป็นพื้นเรียบสวยงาม
2. ลวดลายจะทำได้ละเอียดมาก และคมชัด
3. ลักษณะของรูปทรงจะเรียบร้อยและสวยงาม
4. โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ถมสีเงิน (ถมดำ) เท่านั้นไม่นิยมทาทอง เพราะพื้นถมจะหลุดง่าย
5. ใช้วิธีแต่งลายโดยวิธีแกะแร เพราะจะป้องกันการกะเทาะของพื้นถม
6. พื้นถมนั้นจะไม่มีตามด เพราะพื้นลวดลายที่เกิดจากการกัดกรดจะลึกและเรียบเท่ากันหมด
7. สามารถทำเป็นรูปแบบเครื่องถมยากๆ ได้ทุกรูปแบบ
8. สามารถผลิตเครื่องถมที่เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก
9. เนื้อวัสดุที่เกิดจากการกัดกรดรูปพรรณและแต่งลวดลายรูปพรรณจะหลุดหายไป


.....................................................

เนื้อหาต่อไป

ประวัติน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

๑๓.เครื่องถม

วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง

............วิชาช่างถมที่เปิดสอนในโรงเรียนเพาะช่างเมื่อ พ.ศ.2456 (ตำรา "ถมนคร") เรียกว่า วิชารูปพรรณและถม ได้แก่ การขึ้นรูป สลักลาย และลงถม
ดำรง โมลีกุล เขียนอธิบายเกี่ยวกับวิชาช่างถมในโรงเรียนเพาะช่างไว้ในเรื่อง "การทำบล็อกแม่พิมพ์" ดังนี้
"พ.ศ.2461 - 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุน เพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในขณะที่เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง พระองค์ได้ทรงตั้งแผนกช่างทองแผนกเจียระไนเพชรพลอย (แผนกโลหะรูปพรรณ) และได้นำวิธีการทำบล็อกโลหะ (ดูรายละเอียดในเรื่อง "การทำบล็อกแม่พิมพ์") เข้ามาทำ เครื่องถมที่ต่างกับ เครื่องถมนครศรีธรรมราช คือ "ถมนคร" ใช้กรรมวิธีขึ้นรูป และสลักดุน ส่วนใดที่ต้องการลวดลายก็ดุนขึ้นมา การทำต้องใช้เวลานานมากในการขึ้นรูป สลักดุน เมื่อเป็นเช่นนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดค้นวิธีที่จะทำถมให้เร็วขึ้น ด้วย การนำวิธีการทำบล็อกมาช่วย โดยใช้เขียนต้นฉบับเป็นลวดลายต่างๆ และนำมาถ่ายเป็นกระจกเปียก (WET COLODION) (สมัยก่อนยังไม่ใช้ฟิล์ม) เป็นภาพ เพื่อใช้อัดลงแผ่นเงินที่ปรับแผ่นให้เรียบด้วยวิธีการรีดโลหะ นำแผ่นเงินมาเคลือบน้ำยาไวแสงเพื่อใช้อัดภาพลงไป และทำตามกรรมวิธีทำบล็อก โลหะ โดยนำแผ่นเงินไปกัดกรด ส่วนที่ถูกกรดกัดลึกก็จะนำยาถมมาลง ส่วนที่ไม่ถูกกรดกัดก็เป็นเนื้อเงิน การทำถมแบบนี้ทำได้รวดเร็วและสวยงามไป อีกแบบ แต่ต้องแกะ และประดิษฐ์ลวดลาย เพื่อเพิ่มความสวยงามใช้การตัดติดต่อแผ่น โดยใช้วิธีทำแพทเทิร์น "PATTERN" ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ เช่น กล่องถม รูปแบบกล่องที่มีฝาปิดเปิดได้ หรือเป็นกล่องเครื่องใช้
เนื้อหาต่อไป
ประวัติ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร



............ในกรุงเทพมหานครมีการทำถมกันมากพอสมควร ราวๆ สมัยต้นรัตนโกสินทร์มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า "บ้านพานถม" อยู่ใกล้ๆ สะพานเฉลิมวันชาติ ถนนพระสุเมรุ ชาวบ้านในกลุ่มนี้ทำพานถม ขันถมขาย แต่ไม่มีหลักฐาน ว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร มีแต่ผู้สูงอายุคนหนึ่งเล่าว่า ชาวบ้านใน "บ้านพานถม" นี้ ได้ประกอบอาชีพทำพานถม ขันถม เป็นแบบเครื่องถมนคร แต่ฝีมือไม่อยู่ในขั้นดีเยี่ยม เช่น น้ำยาถมเป็นสีดำ เหมือนสีถ่านแต่ไม่ขึ้นมันเงา การทำถมก็ไม่เรียบสนิท มักจะเป็น "รูพรุน" หรือ "ตามด" ปัจจุบันนี้เลิกอาชีพนี้ไปหมดแล้ว
ใน พ.ศ.2453 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ฟื้นฟูส่งเสริมศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนครศรีธรรมราชขึ้นในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2453 ได้เปิดแผนกช่างถมขึ้นเป็นกองและ แผนกหนึ่งใน "โรงเรียนเพาะช่าง" ได้รับความร่วมมือจากพระยาเพชรปราณี เจ้ากรมอำเภอ กระทรวงนครบาล ในขณะนั้น จัดหาตำรา "ถมนคร" มาใช้สอนในโรงเรียนเพาะช่างในแผนกช่างถมสำเร็จ ทำการทดลองใช้ตำราเล่ม นั้น โดยเริ่มให้ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เป็นผู้รับหน้าที่ทดลองใช้ และเรียกขุนปราณีถมกิจ (หยุย จิตตะกิตติ) เป็นช่างถมอยู่บ้านพานถม ให้เข้ามารับราชการเป็นผู้สอนร่วมกับ ขุนประดิษฐ์ถมการ (รื่น ทัพวัฒน์) วิชาเครื่องถมนี้ได้รับการส่งเสริม โดยให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนเพาะช่างสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

เนื้อหาต่อไป
ประวัติ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.เครื่องถม

โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช



..................ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนช่างถมนี้คือพระภิกษุชาวนครศรีธรรมราชรูปหนึ่ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (ม่วง รัตนธัชโชเปรียญ) พ.ศ. 2396 - 2477 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสิริธรรมมุนี สถิต ณ วัดท่าโพธิ์ ชาวนครฯ เรียกท่านว่า "เจ้าคุณวัดท่าโพธิ์" ทางด้านศาสนาท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช แต่อีกทางหนึ่งท่านเป็นผู้จัดการการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาชาวมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑล ปัตตานี ซึ่งเกือบจะเรียกได้ว่าของชาวปักษ์ใต้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ ให้จัดการศึกษาขึ้นในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2421 เป็นครั้งแรกนั้น ได้ทรงแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น วชิรญาณวโรรส เป็นองค์ประธานอำนวยการศึกษาและพระศาสนา ในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ และในมณฑลหัวเมืองตลอดพระราชอาณาจักร กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเลือกพระรัตนธัชมุนี เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระสิริธรรมมุนี ขึ้น ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานตราตำแหน่ง ตั้งท่านเจ้าคุณเป็นผู้อำนวยการศึกษาและการพระศาสนามณฑลนครศรีธรรมราชกับมณฑลปัตตานี การจัดการศึกษาครั้งนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยเหตุประการแรกคือ การคมนาคมไปมาไม่สะดวกอย่างยิ่ง ประการที่สอง เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจิตใจของคน เปลี่ยนแปลงแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม และต้องฝ่าอำนาจบุคคลหมู่มากที่มีอยู่ด้วยประการต่างๆ ร้อยแปดพัน ประการ เฉพาะอย่างยิ่งในมณฑลปัตตานี ซึ่งพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมีลัทธิประเพณีต่างกับชาวพุทธ การจัดการศึกษาย่อมยากยิ่งขึ้นเป็นอันมาก แต่ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีได้ดำเนินการนั้นด้วยสติปัญญาอันสุขุม เป็น ผลลุล่วงได้ด้วยความราบรื่นสมพระประสงค์ทุกประการ ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาให้แก่ชาวปักษ์ใต้แก่ชาวนครศรีธรรมราช มิใช่แต่วิชาสามัญเท่านั้น (วิชาวิสามัญคือวิชาชีพ) กล่าวโดยเฉพาะ ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชา ช่างถมขึ้นในวัดท่าโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2456 หลังจากการทำเครื่องถมนครได้ซบเซาตกต่ำลงไปมากท่านเจ้าคุณได้สละเงินนิตยภัตที่ท่านได้รับพระราชทานจ่ายเป็นเงินเดือนแก่ครูผู้สอนกิจการ กิจการของโรงเรียนนี้ได้ดำเนินมาหลายปี จนในที่ สุดกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ขึ้นมา และได้รับเอาโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนของรัฐ ในปัจจุบันนี้ โรงเรียนนี้ได้เจริญเติบโตเป็นโรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมา ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชเป็นสถานศึกษาของชาติไทยแห่งเดียวเท่านั้นที่สอนวิชาช่างถม ทำเครื่องถมศิลปหัตถกรรมประจำชาติของไทย และนักศึกษาที่จบจากโรงเรียนนี้ จะเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่ง ศิลปหัตถกรรมอันนี้ของชาติ เป็นผู้สร้างเกียรติและศักดิ์ศรีแก่ชาวนครศรีธรรมราชสืบไปชั่วกาลนาน


เนื้อหาต่อไป

ประวัติของ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.
โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.
เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.
วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.เครื่องถม

ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย

.................. ประเทศไทยจะคิดกรรมวิธีทำเครื่องถมขึ้นเองหรือได้มาจากทางใดและเมื่อใดนั้นหนังสือเรื่องประวัติศิลปกรรมไทย ของ นายตรี อมาตยกุล (พิมพ์ที่โรงพิมพ์สมผล พ.ศ. 2493 กล่าวไว้ว่า "...ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้น ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีแห่งหนึ่งกล่าวว่าขุนนางศักดินา 10,000 กินเมือง กินเจียดเงินถมยาดำรองตะลุ่ม ดังนี้เป็นต้น จึงทำให้คิดว่า เครื่องถมดำนี้เป็นของไทย เราคิดทำได้ตั้งแต่ในสมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีก็คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งเครื่องถมไปเป็นบรรณาการแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นเครื่องถมดำลายอรหัน ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุฝรั่งว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นผู้ออกแบบ..." ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 18 เรื่องจดหมายเหตุในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) มีในเรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้ายกล่าว ไว้ว่า ทูตานุทูตสยามไปถวายพระราชสาส์นต่อพระสันตปาปา กรุงโรมด้วย และในการที่ราชทูตสยามเข้าเฝ้าพระสันตปาปา ณ กรุงโรมนั้น "...ราชทูตเชิญพานแว่นฟ้าทองคำรับราชศาส์น ราชศาส์น ... ม้วนบรรจุไว้ในผอบทองคำลงยาราชาว ดีอย่างใหญ่ ผอบนั้นตั้งอยู่ในหีบถมตะทองหีบถมตะทองตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้าทองคำ อุปทูตเชิญเครื่องมงคลราชบรรณการ ... ตรีทูตเชิญของถวายของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์... มีถุงเข้มขามพื้นเขียวหุ้ม1 ถุง ตั้งบนพานถมตะทอง สำหรับถวายโป๊ป..." นอกจากนี้หมดชาวเยอรมันชื่อ เอนเยลเบิร์ตแกมป์เฟอร์ ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระเพทราชาใน พ.ศ.2233 เป็นเวลา 23วัน ก็ได้เขียนบรรยายสภาพของกรุงศรีอยุธยาไว้ตอนหนึ่ง มีว่า "...ถนนสายกลาง ซึ่งแล่นเหนือขึ้นไปยังพระราชวังนั้นมีผู้คนอยู่คับคั่งที่สุด แน่ขนัดไปด้วย ร้านค้า ร้านช่างศิลปะและหัตถกรรมต่างๆ..." ดังนี้ก็อาจจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า อย่างน้อยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) นั้น ไทยก็มีเครื่องถมแล้ว และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็รุ่งโรจน์จนกระทั่งใช้เครื่องถมเป็นของกำนัลไปถวายเจ้านายต่างประเทศ "แม้ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาก็ยังทำกันอยู่หนาแน่นในกรุงศรีอยุธยา..."
...............เครื่องถมที่เรารู้จักกันแพร่หลายในเมืองไทย และแม้ในปัจจุบันเรารู้จักกันในนามถมเมืองนคร "ถมนคร" ที่เรียกกันเช่นนี้ เพราะแม้ในปัจจุบันที่นครศรีธรรมราชก็ยังมีการผลิตเครื่องถมอย่างมากมาย เป็นการสืบต่อมาหลายชั่ว อายุ และเป็นสินค้าที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างหนึ่งของนครศรีธรรม




...............มูลเหตุที่คนนับถือกันว่า ฝีมือช่างถมเมืองนครฯ ทำดีกว่าในกรุงเทพฯ นั้น ฝีมือช่างถมเมืองนครฯ ทำดีกว่าในกรุงเทพฯ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงมีข้อสังเกตไว้สองประการดังนี้
ประการที่ 1 เป็นเพราะช่างถมเมืองนครฯ เจ้าพระยานคร (น้อย) กวดขันให้ทำให้ได้ดังใจ แต่ช่างถมในกรุงเทพฯ ไม่มีใครบังคับกวดขันทำตามใจตนเอง
ประการที่2 "ถมนคร" มีชิ้นใหญ่ๆ ก็เพราะเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นผู้มีเงินทุนให้ทำพวกร้านย่อยบ้านพานถมมีแต่ของเล็กๆ เพราะไม่มีเงินทุนและไม่มีโอกาส
"ถมนคร" ชิ้นใหญ่ๆ ที่พระองค์ทรงกล่าวถึง เป็นเครื่องราชูปโภคทำด้วยถมมีของสำคัญ 5 สิ่ง คือ"ถมนคร" ชิ้นใหญ่ๆ ที่พระองค์ทรงกล่าวถึง เป็นเครื่องราชูปโภคทำด้วยถมมีของสำคัญ 5 สิ่ง คือ





1. พระราชยาน ซึ่งมีกระจังพระราชยานถมทำด้วยทอง เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) อธิบายว่า การที่ทำราชยานถมถวายครั้งนี้ เอาช่างทองไปจากพระยาเพชรพิชัย เพราะเมืองนครศรีธรรมราชมีแต่ ช่างถมมีหลักฐานว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระแท่นเสด็จออกขุนนาง ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พนักเรือพระที่นั่งกราบ
4. พระเก้าอี้ที่ใช้เป็นพระที่นั่งภัทรบิฐ
สองสิ่ง (ในข้อ 3,4) นี้พระองค์ทรงสันนิษฐานว่า เป็นของเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) ทำถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะอนุโลมเป็นราชยานสิ่ง1 เป็นราชอาสน์สิ่ง 1 ตามเค้าของที่ เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้บิดาได้ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
5.พระแท่นพุดตาน ที่ตั้งในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) ทำขึ้น ดำรัสว่า "จะได้เป็นเกียรติสืบ สกุล..." (พระที่นั่งพุดตาน ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งจักรีฯ ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และในโอกาสเสด็จออกมหาสมาคมวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะบุคคลถวายพระพรชัยมงคล)


เนื้อหาต่อไป

ประวัติของน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.
ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.
โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.
เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.
วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.
ถมจุฑาธุช
๖.
เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.
ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.
หนังสือ
๑๐.
ภาพเครื่องถม
๑๑.
คำถาม
๑๒.
ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.
เครื่องถม