วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ถมจุฑาธุช



.................คำว่า "ถมจุฑาธุช" เป็นชื่อเครื่องถมที่สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดพัฒนาให้ มีกระบวนการที่เร็วขึ้นและทรงประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยนำวิธีการเขียนลวดลาย และวิธีการ ถ่ายภาพมาประยุกต์ใช้ในการทำเครื่องถม แทนวิธีการสลักลวดลายแบบโบราณซึ่งทำได้ช้าเพราะต้องผ่านหลายขั้นตอนนอกจากนั้นเมื่อนำขั้นตอนของการสลักลวดลายแบบโบราณมาใช้ ก็ไม่สามารถพลิกแพลง ทำรูปทรงที่ยากๆ ได้ เพราะจะทำให้เสียรูปทรงและจะประกอบให้เหมือนเดิมได้ยากทั้งเสียเวลามากด้วย
กรรมวิธีในการผลิตเครื่องถมจุฑาธุชมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. วิธีการทำเครื่องถมโดยการเขียนลวดลายแล้วกัดกรด
2.วิธีการทำเครื่องถมโดยการถ่ายแบบลวดลายที่กัดกรดแล้ว
การถ่ายแบบลวดลายลงในแผ่นกระจกโดยอาศัยน้ำยาโคโลเลียน (ใช้ในยุคที่การถ่ายภาพยังไม่เจริญ)
การถ่ายแบบลวดลายลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว ที่พระองค์ท่านได้ทรงคิดค้นขึ้นมานี้ ทำให้ การทำเครื่องถมไทยสามารถพัฒนางานได้รวดเร็ว และตัดขั้นตอนในการทำเครื่องถมไปถึง 4 ขั้นตอน (จากการทำเครื่องถมแบบโบราณ) การที่พระองค์ ท่านทรงนำเอาวิธีการดังกล่าวมาเผยแพร่นี้ นอกจากได้ประโยชน์ในเชิงวิชาการแล้ว ยังส่งผลให้เครื่องถมนั้นมีแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้มากขึ้นและ เจริญก้าวหน้าสืบทอดมาเป็นมรดกของชาติจนถึงปัจจุบันอีกด้วย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกว่าถ้าเป็นถมลักษณะ อย่างนี้ต้องเป็นถมจุฑาธุช ซึ่งเรียกตามพระนามของท่านผู้คิดค้นนั่นเอง

ลักษณะของถมจุฑาธุชมีข้อสังเกตได้ดังนี้
1. ด้านหลังของลวดลายจะเป็นพื้นเรียบสวยงาม
2. ลวดลายจะทำได้ละเอียดมาก และคมชัด
3. ลักษณะของรูปทรงจะเรียบร้อยและสวยงาม
4. โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ถมสีเงิน (ถมดำ) เท่านั้นไม่นิยมทาทอง เพราะพื้นถมจะหลุดง่าย
5. ใช้วิธีแต่งลายโดยวิธีแกะแร เพราะจะป้องกันการกะเทาะของพื้นถม
6. พื้นถมนั้นจะไม่มีตามด เพราะพื้นลวดลายที่เกิดจากการกัดกรดจะลึกและเรียบเท่ากันหมด
7. สามารถทำเป็นรูปแบบเครื่องถมยากๆ ได้ทุกรูปแบบ
8. สามารถผลิตเครื่องถมที่เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก
9. เนื้อวัสดุที่เกิดจากการกัดกรดรูปพรรณและแต่งลวดลายรูปพรรณจะหลุดหายไป


.....................................................

เนื้อหาต่อไป

ประวัติน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

๑๓.เครื่องถม

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ