วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

เครื่องถมไทยในปัจจุบัน

.............อุตสาหกรรมเครื่องถมในกรุงเทพฯ นั้น แม้จะมีการส่งเสริมโดยให้มีการสอนที่โรงเรียนเพาะช่างอยู่ระยะหนึ่ง ก็ไม่ปรากฏว่าได้เป็นอุตสาหกรรม อันแพร่หลายไปในท้องตลาดมากนัก ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะเครื่องถมเป็นของที่มีค่าและมีราคาสูง จึงใช้กันอยู่แต่ภายในราชสำนัก และในวงผู้มีฐานะดี เท่านั้น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ.2435 มีผู้ทำเครื่องถมอยู่ 3-4 ราย โดยใช้ช่างถมผู้มีฝีมือที่ไปจากนครศรีธรรมราชแหล่ง ช่างถมที่มีฝีมืออีกแห่งหนึ่งก็ได้แก่โรงเรียนเพาะช่าง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่าง ทำสิ่งของอันเป็น เครื่องถมสำหรับพระราชทานแก่พระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญในต่างประเทศ

ส่วนการค้าเครื่องถมกับต่างประเทศในสมัยนั้น กล่าวได้ว่าไม่มีเลย ทั้งนี้เพราะการคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศยังไม่กว้างขวาง ภายหลังที่ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ.2475 แล้ว ในกรุงเทพฯ ได้มีผู้ที่เป็นนักธุรกิจและผู้ที่เป็นช่างถมที่มีฝีมือ ล้วนแต่เป็นชาวนครศรีธรรมราช รวมกัน 5-6 คนเข้าทำกิจการ อุตสาหกรรมเครื่องถมใช้ชื่อว่า "ไทยนคร" กิจการได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ โรงงานของไทยนครมีช่างฝีมือปฏิบัติการในการทำเครื่องเงินเครื่องถมไทย นี้ปริมาณ 100 คน ในปัจจุบัน
.............................................
เนื้อหาต่อไป

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

ไม่มีความคิดเห็น: