วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ประเภทของเครื่องถมไทย

เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เ
ครื่องถมมีอยู่ 3 แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง


ถมเงินหรือถมดำ


.....................เป็นถมที่เก่าแก่ที่สุดตามความนิยม ถมที่ดีต้องมีสีดำสนิทไม่มี "ตามด" (ตามดคือจุดขาวบนสีดำ) ถมเป็นกรรมวิธี ในการผสมของโลหะสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ เงิน ตะกั่ว และทองแดง นำมาป่นจนเป็นผงละเอียดเพื่อโรยลงบนพื้นแผ่นเงินที่ขูดร่อง หรือตอกเป็น ลวดลายไว้แล้ว การที่จะให้ผงถมเกาะแน่นอยู่ที่การเหยียบพื้น (คือการแกะหรือตอกร่องลงบนเนื้อเงินที่เป็นพื้นของลายที่ตอก) ถ้าเหยียบพื้น ให้มีรอยขรุขระมากเท่าใด ผงถมก็เกาะได้มากเท่านั้น
ถมทอง
............ก็คือถมดำนั่นเอง แต่แตกต่างที่ลวดลาย คือลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดย ใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กันเขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน
ถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึง วิธีการระบายทองคำละลายปรอทหรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบายจนเต็มเนื้อที่อย่าง เดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอทที่มีทองคำละลายปนอยู่ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้ เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอทจะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหนีทองก็จะติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้มทองนั้น การแต้มทองหรือ ระบายทองในที่บางแห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการแสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถมตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือ ถมทอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมในถมตะทองมากกว่าถมทอง

ถมปัด
มีเครื่องใช้สอยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ถมปัด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 ให้คำนิยามไว้ว่า "ภาชนะทองแดงที่ เคลือบน้ำยาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่างๆ" ส่วนคำว่า "ปัด" ที่เป็นนาม ให้คำนิยามว่า "เม็ดแก้วมีรูกลางสำหรับร้อย เป็นเครื่องประดับต่างๆ ที่เรียกว่า "ลูกปัด" ดังนั้นแม้จะมีคำว่าถม อยู่ด้วย ถมปัดก็ไม่ใช่เครื่องถมดังที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้นนี้ เพราะ เหตุว่ารูปพรรณถมปัดเป็นโลหะทองแดง และน้ำยาเคลือบประสมด้วยแก้ว ถมปัดนี้ยังไม่ทราบว่าเคยมี ณ ที่ใด ในประเทศไทย เครื่องลงยาของไทยใช้น้ำ ยาผสมด้วยแก้ว แต่โลหะก็เป็นเงินหรือทองคำ และหาได้เรียกกันว่า ถมปัด ไม่ ในประเทศญี่ปุ่นมีเครื่องใช้สอยชนิดหนึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่น ชิป โป (Shippo) ทำด้วยทองแดงหรือโลหะอื่นเคลือบน้ำยาประสมด้วยแก้ว ทางยุโรปก็มีเรียกว่าคลัวซอนเน (Cloisonne) ทั้งนี้ก็ตรงกันกับถมปัด เข้าใจ ว่าโลหะลงยาชนิดนี้



.................................................

เนื้อหาต่อไป

ประวัติน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง
๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

๑๓.เครื่องถม

ไม่มีความคิดเห็น: