วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

.............สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรทั่วทุกภาคของประเทศมา 40 กว่าปีแล้วได้ทรง พบว่าราษฎรไทยหลายท้องถิ่นมีฝีมือเป็นเลิศทางหัตถกรรมหลายชนิดสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ สมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป พระองค์จึงทรง ทุ่มเทพระวิริยะอุตสาหะ และพระราชทรัพย์มาส่งเสริมงานหัตถกรรมแก่ราษฎรวัตถุประสงค์สำคัญก็คือเพื่อหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่กสิกรที่ประสบ ปัญหาในการเพาะปลูก หรือกสิกรที่ว่างจากฤดูเพาะปลูกให้ได้มีงานทำอยู่กับบ้าน วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งก็คือเพื่อธำรงรักษาและฟื้นฟูหัตถกรรม แบบไทยโบราณ ซึ่งกำลังจะเสื่อมสูญไปตามกาลเวลาให้กลับมาแพร่หลาย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสอนหัตถกรรมแทบทุกประเภท แก่บุตรหลานของราษฎรที่ไร้ที่ทำกินขึ้น ณ บริเวณสวนจิตรลดา และเปิดสอนสมาชิกต่างจังหวัดในบริเวณพระตำหนักทุกภาค เวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อทรงเยี่ยม ราษฎร ทรงรับเด็กยากจนและการศึกษาน้อย ผู้ยังไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการช่างใดๆ เข้ามาเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ทรงเสาะหาครูผู้มีฝีมือที่ยัง หลงเหลืออยู่ มาถ่ายทอดผลงานอันประณีตละเอียดอ่อนเหล่านี้ทรงติดตามผลงานทุกชิ้น และพระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกทุกคน โปรดที่จะทรงใช้สอยผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพทุกชนิดเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั่วไป
การที่พระองค์ท่านทรงริเริ่มพระราชกรณียกิจด้านนี้มากว่าสิบปี ก็ทรงเห็นสมควรที่จะจัดตั้งอาคารศิลปาชีพขึ้น ณ สวนจิตรลดา เพื่อเป็นศูนย์ กลางของการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ และเพื่อเป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากราษฎรทั่วประเทศจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร ศิลปาชีพขึ้นที่ข้างตึกที่ทำการกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ งานของศิลปาชีพเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพได้แพร่หลายกว้างขวาง เป็นที่นิยมในหมู่ราษฎรไทยและชาวต่างประเทศ จากเดิมที่พระองค์ทรงใช้จ่ายเพื่อศิลปาชีพจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ได้มีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงจัดตั้งขึ้นเป็นมูลนิธิได้สำเร็จ เมื่อ วันที่ 21กรกฎาคม พ.ศ.2519 และทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิด้วย ต่อมารัฐบาลได้ประจักษ์ถึงผลงานและคุณประโยชน์ของมูลนิธิ จึงได้รับเป็นหน่วยงาน หนึ่งของรัฐ โดยจัดตั้งเป็นกองศิลปาชีพขึ้น ในสำนักราชเลขาธิการ เมื่อ พ.ศ.2528 เพื่อสนับสนุนงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มูลนิธิใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Foundation for the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen Sirikit" หรือเรียกย่อๆ ว่า "The SUPPORT Foundation"

เนื้อหาต่อไป

ประวัติ น.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.ถมจุฑาธุช
๖.เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.หนังสือ
๑๐.ภาพเครื่องถม
๑๑.คำถาม
๑๒.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.เครื่องถม

ไม่มีความคิดเห็น: