วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย

.................. ประเทศไทยจะคิดกรรมวิธีทำเครื่องถมขึ้นเองหรือได้มาจากทางใดและเมื่อใดนั้นหนังสือเรื่องประวัติศิลปกรรมไทย ของ นายตรี อมาตยกุล (พิมพ์ที่โรงพิมพ์สมผล พ.ศ. 2493 กล่าวไว้ว่า "...ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้น ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีแห่งหนึ่งกล่าวว่าขุนนางศักดินา 10,000 กินเมือง กินเจียดเงินถมยาดำรองตะลุ่ม ดังนี้เป็นต้น จึงทำให้คิดว่า เครื่องถมดำนี้เป็นของไทย เราคิดทำได้ตั้งแต่ในสมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีก็คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งเครื่องถมไปเป็นบรรณาการแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นเครื่องถมดำลายอรหัน ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุฝรั่งว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นผู้ออกแบบ..." ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 18 เรื่องจดหมายเหตุในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) มีในเรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้ายกล่าว ไว้ว่า ทูตานุทูตสยามไปถวายพระราชสาส์นต่อพระสันตปาปา กรุงโรมด้วย และในการที่ราชทูตสยามเข้าเฝ้าพระสันตปาปา ณ กรุงโรมนั้น "...ราชทูตเชิญพานแว่นฟ้าทองคำรับราชศาส์น ราชศาส์น ... ม้วนบรรจุไว้ในผอบทองคำลงยาราชาว ดีอย่างใหญ่ ผอบนั้นตั้งอยู่ในหีบถมตะทองหีบถมตะทองตั้งอยู่บนพานแว่นฟ้าทองคำ อุปทูตเชิญเครื่องมงคลราชบรรณการ ... ตรีทูตเชิญของถวายของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์... มีถุงเข้มขามพื้นเขียวหุ้ม1 ถุง ตั้งบนพานถมตะทอง สำหรับถวายโป๊ป..." นอกจากนี้หมดชาวเยอรมันชื่อ เอนเยลเบิร์ตแกมป์เฟอร์ ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระเพทราชาใน พ.ศ.2233 เป็นเวลา 23วัน ก็ได้เขียนบรรยายสภาพของกรุงศรีอยุธยาไว้ตอนหนึ่ง มีว่า "...ถนนสายกลาง ซึ่งแล่นเหนือขึ้นไปยังพระราชวังนั้นมีผู้คนอยู่คับคั่งที่สุด แน่ขนัดไปด้วย ร้านค้า ร้านช่างศิลปะและหัตถกรรมต่างๆ..." ดังนี้ก็อาจจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า อย่างน้อยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) นั้น ไทยก็มีเครื่องถมแล้ว และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็รุ่งโรจน์จนกระทั่งใช้เครื่องถมเป็นของกำนัลไปถวายเจ้านายต่างประเทศ "แม้ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาก็ยังทำกันอยู่หนาแน่นในกรุงศรีอยุธยา..."
...............เครื่องถมที่เรารู้จักกันแพร่หลายในเมืองไทย และแม้ในปัจจุบันเรารู้จักกันในนามถมเมืองนคร "ถมนคร" ที่เรียกกันเช่นนี้ เพราะแม้ในปัจจุบันที่นครศรีธรรมราชก็ยังมีการผลิตเครื่องถมอย่างมากมาย เป็นการสืบต่อมาหลายชั่ว อายุ และเป็นสินค้าที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างหนึ่งของนครศรีธรรม




...............มูลเหตุที่คนนับถือกันว่า ฝีมือช่างถมเมืองนครฯ ทำดีกว่าในกรุงเทพฯ นั้น ฝีมือช่างถมเมืองนครฯ ทำดีกว่าในกรุงเทพฯ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงมีข้อสังเกตไว้สองประการดังนี้
ประการที่ 1 เป็นเพราะช่างถมเมืองนครฯ เจ้าพระยานคร (น้อย) กวดขันให้ทำให้ได้ดังใจ แต่ช่างถมในกรุงเทพฯ ไม่มีใครบังคับกวดขันทำตามใจตนเอง
ประการที่2 "ถมนคร" มีชิ้นใหญ่ๆ ก็เพราะเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นผู้มีเงินทุนให้ทำพวกร้านย่อยบ้านพานถมมีแต่ของเล็กๆ เพราะไม่มีเงินทุนและไม่มีโอกาส
"ถมนคร" ชิ้นใหญ่ๆ ที่พระองค์ทรงกล่าวถึง เป็นเครื่องราชูปโภคทำด้วยถมมีของสำคัญ 5 สิ่ง คือ"ถมนคร" ชิ้นใหญ่ๆ ที่พระองค์ทรงกล่าวถึง เป็นเครื่องราชูปโภคทำด้วยถมมีของสำคัญ 5 สิ่ง คือ





1. พระราชยาน ซึ่งมีกระจังพระราชยานถมทำด้วยทอง เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) อธิบายว่า การที่ทำราชยานถมถวายครั้งนี้ เอาช่างทองไปจากพระยาเพชรพิชัย เพราะเมืองนครศรีธรรมราชมีแต่ ช่างถมมีหลักฐานว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระแท่นเสด็จออกขุนนาง ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พนักเรือพระที่นั่งกราบ
4. พระเก้าอี้ที่ใช้เป็นพระที่นั่งภัทรบิฐ
สองสิ่ง (ในข้อ 3,4) นี้พระองค์ทรงสันนิษฐานว่า เป็นของเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) ทำถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะอนุโลมเป็นราชยานสิ่ง1 เป็นราชอาสน์สิ่ง 1 ตามเค้าของที่ เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้บิดาได้ทำถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
5.พระแท่นพุดตาน ที่ตั้งในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) ทำขึ้น ดำรัสว่า "จะได้เป็นเกียรติสืบ สกุล..." (พระที่นั่งพุดตาน ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งจักรีฯ ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และในโอกาสเสด็จออกมหาสมาคมวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะบุคคลถวายพระพรชัยมงคล)


เนื้อหาต่อไป

ประวัติของน.ส.หทัยรัตน์ บรรจงเมือง

๑.
ประวัติความเป็นมาของเครื่องถมในประเทศไทย
๒.
โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช
๓.
เครื่องถมในกรุงเทพมหานคร
๔.
วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
๕.
ถมจุฑาธุช
๖.
เครื่องถมไทยในปัจจุบัน
๗.
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๘.
ประเภทของเครื่องถมไทย
๙.
หนังสือ
๑๐.
ภาพเครื่องถม
๑๑.
คำถาม
๑๒.
ขั้นตอนการปฎิบัติงาน
๑๓.
เครื่องถม

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณข้อมูลดีดีที่นำมาเผยแพรและได้ให้โอกาศนำไปศึกษาต่อคับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณข้อมูลดีดีที่นำมาเผยแพรและได้ให้โอกาศนำไปศึกษาต่อคับ